• 2519 เข้าชม
  • 10 ตุลาคม 2560

1.พื้นที่บ้านเหมาะสมหรือไม่

  • ต้องรู้ขนาดเล็กสุดของสระที่ต้องการสร้างอย่างแน่ชัด และตรวจสอบขนาดพื้นที่โดนเว้นระยะรอบสระให้ได้อย่างน้อย 1 เมตร


2.โครงสร้างบ้านเหมาะสมหรือไม่

  • ควรเว้นให้สระห่างจากบ้าน 0.5 - 1 เมตร เพื่อให้วางเสาเข็มโครงสร้างของสระโดยไม่กระทบกับตัวบ้าน


3.ตำแหน่งและทิศทาง

  • เลือกตำแหน่งตามเหมาะสมหากต้องการความเป็นส่วนตัวควรอยู่หลังหรือข้างบ้าน และสระควรอยู่ในทิศเหนือเพราะมีร่มเงาทำให้เล่นน้ำได้ตลอดวัน


4.โครงสร้างสระว่ายน้ำ

  • แบ่งออกเป็นประเภทคอนกรีตเสริมเหล็กกับสำเร็จรูป ซึ่แบบคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีความทนทานสูงแต่ราคาแพง และก่อสร้างนาน ส่วนแบบสำเร็จรูปจะราคาประหยัด ติดตั้งเร็ว แต่มีขนาดหรือแบบที่จำกัด
  • สระว่ายน้ำเป็นพื้นที่ใช้งานหนัก มีแรงดันน้ำจากในสระกระทำต่อกระเบื้อง และแรงดันจากดินภายนอก ทำให้โครงสร้างมีการเคลื่อนตัว และเกิดเหตุน้ำซึม กระเบื้องหลุด
  • สภาพอากาศ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ทำให้สระมีปัญหา
  • การบำบัดน้ำในสระด้วยคลอรีนหรือเกลือ โดยหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้น้ำมีสภาพเป็นกรดและกัดกร่อนยาแนว
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน
  • ขั้นตอนการติดตั้งไม่ได้คุณภาพ ทำให้เกิดความแข็งแรง ความทนทานน้อยลง และกระเบื้องจะแตกหรือหลุดในจุดที่ใช้ปูนกาวไม่ทั่วถึง

 


ไขปัญหาน้ำลดในสระว่ายน้ำ

  • บางท่านอาจคิดว่าคอนกรีตที่เทดีๆ หรือคอนกรีตที่ผสมน้ำยาลดรูพรุนก็ดีพอแล้วสำหรับการทำสระว่ายน้ำ คุณกำลังคิดผิด โดยธรรมชาตินั้นคอนกรีตจะมีรูพรุน น้ำจะซึมเข้า/ออก ตามรูพรุนเล็กๆเหล่านั้น อีกทั้งจะซึมมากขึ้นและเร็วขึ้นเมื่อคอนกรีตนั้นสัมผัสกับน้ำที่มีแรงดัน
  • แรงดันที่กระทำต่อโครงสร้างของสระว่ายน้ำ จะแบ่งเป็น
  • แรงดันด้านบวก (เกิดจากน้ำในสระ)
  • แรงดันด้านลบ (เกิดจากน้ำนอกสระ เช่น สระที่ขุดลงไปใต้ดิน หรือสระที่สร้างใกล้กับแหล่งน้ำอื่นๆ)
  • ดังนั้นการติดตั้งระบบกันซึมที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสระว่ายน้ำ และระบบกันซึมที่ดีจะต้องทำแยกชั้นออกมาจากโครงสร้างอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
  • สำหรับการทำพื้นสระว่ายน้ำสามารถใช้ซีเมนต์ผสมสำเร็จกันรั่วซึม เวเบอร์.ดราย เท็ค ทนต่อแรงดันน้ำได้ทั้งบวกและลบกว่า 50 เมตร เหมาะกับสระว่ายน้ำแบบขุด และพื้นที่ใต้ดิน